

การจำนองคืออะไร ?
การจำนอง คือ การทำสัญญากู้เงินที่ใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกันในการค้ำเงินกู้ ซึ่งผู้จำนองต้องนำเอาทรัพย์สินที่จะใช้จดจำนองไปจดทะเบียนเพื่อตราไว้เป็นหลักค้ำประกันแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ แต่จะไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง โดยผู้จำนองและผู้รับจำนองจะต้องดำเนินการจดจำนองต่อหน้าเจ้าพนักงาน ณ สำนักงานที่ดินตามเขตอำนาจที่ทรัพย์ตั้งอยู่เท่านั้น


เอกสารที่ต้องใช้ ณ กรมที่ดิน
โฉนดตัวจริง
บัตรประชาชน และทะเบียนบ้านตัวจริง
ใบเปลี่ยนชื่อ,นามสกุล (ถ้ามี)
ใบทะเบียนสมรส,ทะเบียนหย่า (กรณีมีคู่สมรส)
ใบมรณบัตรคู่สมรส (กรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม)
หนังสือยินยอมให้ทำนิติกรรมของคู่สมรส (กรณีมีคู่สมรส แต่คู่สมรสมาไม่ได้)
ใบปลอดหนี้ (กรณีเป็น ห้องชุด หรือคอนโดมิเนียม)
ใบขออนุญาตสิ่งปลูกสร้าง,ใบรับรองสิ่งปลูกสร้าง,ใบขอบ้านเลขที่ (กรณีไม่ได้เป็นหมู่บ้านจัดสรร)
ขั้นตอนการดำเนินการ

ส่งรายละเอียด หลักทรัพย์
ที่ตั้งหลักทรัพย์ จำนวนเงินที่ต้องการ

สำรวจสถานที่/หลักทรัพย์
เพื่อดูความถูกต้องก่อนดำเนินการขั้นถัดไป

อนุมัติวงเงิน
จากรายละเอียดหลักทรัพย์

ทำขายฝาก/จำนอง ณ กรมที่ดิน
ถูกต้องตามกฎหมาย ต่อหน้าเจ้าหน้าที่

มอบเงินทันทีหลังจากการ
ทำขายฝาก/จำนอง ณ กรมที่ดิน
เอกสารที่จำเป็น
เตรียมเอกสารของท่านให้พร้อม แล้วส่งทางไลน์หรืออีเมล
รูปโฉนดด้านหน้า-หลัง (ตัวจริงหรือสำเนา)
ใบประเมินราคา (ถ้ามี) ของกรมที่ดินหรือธนาคาร
รูปถ่ายสินทรัพย์


วิธีคิดอัตราดอกเบี้ยและการลดต้นลดดอก
ตัวอย่างการคิดดอกเบี้ย
ผู้กู้มาทำการกู้เงินจำนวน 1,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน
ผู้กู้จะต้องชำระดังนี้
- 1,000,000 x 1.25% = 12,500 บาท โดยจะต้องนำส่งทุกเดือน
- ถ้าผู้กู้นำเงินมาตัดต้น เช่น นำเงินคืน 500,000 บาท จะเหลือยอด 500,000 บาท นำยอด 500,000 มาคำนวณดอกเบี้ย คือ 500,000X 1.25% = 6,250 บาท เดือนต่อมาก็นำส่งดอกเบี้ยจำนวน ดังกล่าวเป็นต้นไป
- กรณีสัญญาขายฝากถึงกำหนดไถ่ถอน แต่ยังไม่มียอดไถ่ถอน สามารถขยายระยะเวลาได้ และสามารถขยายสัญญาได้จนถึง 10 ปี
ค่าธรรมเนียมที่กรมที่ดิน
ค่าธรรมเนียมขายฝาก (ประมาณ) | 5% ของราคาประเมิน |
ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ไม่ต้องชำระหากถือครองเกิน 5 ปี) | 3.3% ของราคาประเมิน |
ค่าธรรมเนียมจดจำนอง | ประมาณ 1 % |